ค้นหาบล็อกนี้
วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ความหมายที่เเท้จริงของอินดี้
อินดี้
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง,
ค้นหา
อินดี้ (อังกฤษ: Indy หรือ Indies) เป็นรูปย่อของคำว่า Indipendence ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึง "อิสระ"
คำว่า "อินดี้" สามารถหมายถึง
- เพลงใต้ดิน (อังกฤษ: Independent music) - เพลงวัฒนธรรมย่อยที่ไม่ขึ้นต่อค่ายเพลงหลัก
- อินดี้ป็อป (อังกฤษ: Indie pop) - แนวเพลงป๊อปรูปแบบหนึ่ง
- อินดี้ร็อก (อังกฤษ: Indie rock) - แนวเพลงร็อกรูปแบบหนึ่ง
- ค่ายเพลงอิสระ (อังกฤษ: Independent record label) - ค่ายเพลงที่ไม่ถูกควบคุมโดยบริษัทหรือองค์กร
- ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากhttp://th.wikipedia.org/wiki/
วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ลูกเล่นและเทคนิคต่าง ๆ ในการเล่นกีตาร์
ลูกเล่นและเทคนิคต่าง ๆ ในการเล่นกีตาร์
เอาล่ะครับเมื่อคุณรู้จักคอร์ด
กรารตีคอร์ดและการเกากีตาร์กันไปบ้างแล้ว ต่อไปผมจะได้กล่าวถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถใช้ร่วมกันกับการเล่นกีตาร์เพื่อเพิ่มสีสัน
ความไพเราะให้กับการเล่นกีตาร์ของคุณ ซึ่งเทคนิคต่าง ๆ นี้เป็นเพียงเทคนิคพื้นฐาน
โดยคุณสามารถศึกษาเทคนิคอื่น ๆ ได้จากหนังสืออื่น หรือจากศิลปินที่คุณชื่นชอบได้
หรือคุณอาจจะสร้างสรรเทคนิคใหม่ ๆ ด้วยตัวคุณเอง โดยอาศัยเทคนิคพื้นฐานต่อไปนี้
เทคนิคนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายสามารถใช้ได้ทั้งกับการตีคอร์ด
การเกาแและการโซโล่ การเล่น hammer on คือการทำให้โน๊ตมีเสียงสูงขึ้นจากการดีดครั้งเดียว
โดยอาศัยการกดนิ้วลงลงในช่องที่สูงขึ้นไป ทำให้ได้เสียงที่สองที่สูงกว่าเสียงแรก
ลองดูซิครับว่าในเชิงปฏิบัติทำยังไง
จากรูปตัวอย่าง
กดนิ้วชี้ที่สาย 1 ช่อง 5 ดีดสาย 1 แล้วตบนิ้วนางลงบนช่อง 7 (ไม่ต้องตบนิ้วแรงมากแค่กดนิ้วลงไป)
โดยไม่ต้องดีดซ้ำ จะได้เสียงที่ 2 ต่อเนื่องจากเสียงแรก
เทคนิคนี้เป็นอีกเทคนิคที่ใช้กันมาก
บางครั้งอาจใช้ร่วมกับ hammer on ด้วย ซึ่งการเล่นจะตรงกันข้ามกับ hammer on คือเป็นการทำให้เสียงต่ำลงจากการดีดเพียงครั้งเดียว
โดยการปล่อยนิ้วที่กดไปหานิ้วที่กดอยู่ที่ช่องต่ำกว่าหลังจากดีดแล้ว จะทำให้เสียงต่ำลง
ดูวิธีปฏิบัติครับ
จากรูปตัวอย่าง
กดนิ้วนางี้ที่สาย 1 ช่อง 7 ขณะเดียวกันนิ้วชี้กดที่ช่อง 5 รอไว้ ดีดสาย 1 แล้วปล่อยนิ้วนางที่กดช่อง
7 ขึ้น (อาจจะตวัดปลายนิ้วเล็กน้อยจะให้เสียงที่ชัดเจนขึ้น) โดยไม่ต้องดีดซ้ำ จะได้เสียงที่
2 ต่อเนื่องจากเสียงแรกเช่นกัน
เทคนิคการสไลด์
มีให้เห็นอยู่เสมอโดยเฉพาะในการโซโล่ เป็นการรูดนิ้วไปตามสายไปยังช่องอื่นที่สูงขึ้นหรือต่ำลง
หลังจากดีดไปแล้วโดยไม่ต้องยกนิ้วขึ้นเหมือนกับ hammer on หรือ pull off ดูตัวอย่างการเล่นสไลด์ครับ
การสไลด์แบบต่าง ๆ
|
รายละเอียด ขั้นตอนการเล่น
|
เรียกว่า legato สไลด์ลง | 1. กดนิ้วที่สาย 3 ช่อง 7 2. ดีดสาย 3 แล้วสไลด์นิ้วขึ้นไปยังช่อง 5 โดยไม่ต้องดีดอีก |
เรียกว่า legato สไลด์ลง | 1. กดนิ้วที่สาย 3 ช่อง 5 2. ดีดสาย 3 แล้วสไลด์นิ้วลงไปยังช่อง 7 โดยไม่ต้องดีดอีก |
เรียกว่าสไลด์ลง | 1. กดนิ้วที่สาย 3 ช่อง 7 2. ดีดสาย 3 แล้วสไลด์นิ้วขึ้นไปยังช่อง 5 แล้วดีดอีกครั้ง |
เรียกว่าสไลดขึ้น | 1. กดนิ้วที่สาย 3 ช่อง 5 2. ดีดสาย 3 แล้วสไลด์นิ้วลงไปยังช่อง 7 แล้วดีดอีกครั้ง |
เรียกว่ารูดสายลง | 1. ไม่มีจุดเริ่มสไลด์ตายตัว แต่อาจจะกะว่าอยู่ที่ช่องเหนือขึ้นไป 2 - 5 ช่อง 2. กดสาย 3 ที่ช่องที่เรากะไว้แล้วดีดสายและสไลด์นิ้วลงไปยังช่อง 7 |
เรียกว่ารูดสายขึ้น | 1. เช่นเดียวกัน จุดสิ้นสุดของการสไลด์อาจจะกะว่าอยู่ที่ช่องใต้ลงไปไป 2 - 5 ช่อง 2. กดสาย 3 ที่ช่องที่ 7 แล้วดีดสายและสไลด์นิ้วไปยังช่องที่เรากะไว้แล้วจึงยกนิ้วออก |
เทคนิค bend
หรือว่าดันสายมักจะพบในการโซโล่กีตาร์เช่นกัน การดันสายมีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน
เช่น ดัน 1/2 เสียง, 1 เสียง หรือ 2 เสียง, ดันสายไว้ก่อนแล้วค่อยดีดแล้วจึงลดนิ้วลง,
ดีดแล้วค่อยดันสายขึ้น เป็นต้น ลองมาดูตัวอย่างการฝึกดูซิครับ
การดันสายแบบต่าง
ๆ
|
วิธีการเล่น
|
ดีดก่อนแล้วดันสายขึ้น | 1. กดนิ้วบนช่องหรือโน๊ตที่จะดีด 2.
ดีดสายดังกล่าวแล้วออกแรงใช้นิ้วที่กดนั้นดันสายในทิศขึ้นให้ได้เสียงตามที่ต้องการ 3. หยุดเสียงโดยผ่อนแรงนิ้วที่กดสายเสียงจะหยุดไป |
ดีดก่อนดันสายขึ้นแล้วจึงผ่อนลง | 1. กดนิ้วบนช่องหรือโน๊ตที่จะดีด 2.
ดีดสายดังกล่าวแล้วออกแรงใช้นิ้วที่กดนั้นดันสายในทิศขึ้นให้ได้เสียงตามที่ต้องการ 3. ผ่อนนิ้วที่ดันสายลงมาอยู่ในตำแหน่งปกติ |
ดันสายไว้ก่อนแล้วจึงดีด | 1. กดนิ้วบนช่องที่จะเล่นแต่ดันสายรอเอาไว้ (กะให้ได้เสียงตามต้องการ ซึ่งครงนี้ต้องฝึกนิดนึง) 2. ดีดสายดังกล่าวขณะที่ดันสายอยู่ |
ดันสายไว้ก่อนแล้วจึงดีดแล้วผ่อนลง | 1. กดนิ้วบนช่องที่จะเล่นแต่ดันสายรอเอาไว้ (กะให้ได้เสียงตามต้องการ ซึ่งครงนี้ต้องฝึกนิดนึง) 2. ดีดสายดังกล่าวขณะที่ดันสายอยู่ จากนั้นจึงผ่อนนิ้วที่ดันสายลงเป็นปกติ |
หมายเหตุ 1. full หมายถึงดันสายไป 1 เสียงเต็ม หรือเท่ากับ 2 ช่องเฟร็ต
2. 1/4 หมายถึงดันสายไป 1/4 ของเสียง(กะประมาณดู) ,1/2 ดันไป 1/2 ของเสียงหรือ
1 เฟร็ต เป็นต้น
ทั้งหมดเป็นเพียงการดันสายแบบพื้นฐานคร่าว
ๆ อาจจะมีนอกเหนือไปกว่านี้ก็ได้ คุณอาจจะลองศึกษาเทคนิคดันสายในแบบอื่น ๆ อีกได้จากหนังสือหรือจากนักดนตรีทั่ว
ๆ ไป
การทำเสียงบอดหรือ
mute เสียง สามารถใช้ได้ทั้งกับการตีคอร์ด การเล่น picking และการ lead หรือ โซโล่
ในเพลงประเภทร็อคหรือเฮฟวี่ มักเล่น power chord โดยการ ทำเสียงบอด ทำให้คอร์ดกีตาร์มีความหนักแน่นขึ้น
สัญลักษณ์ที่จะพบใน tab หรือโน๊ตกีตาร์จะใช้เครื่องหมาย x (กากบาท) หรืออาจเขียนตัวอักษรบอกเหนือโน๊ตตัวนั้นว่า
P.M. (Palm Mute) ซึ่งในการปฏิบัติจะใช้สันมือด้านในของมือขวา (มือที่ดีดกีตาร์)
วางแตะเบา ๆ เหนือสายที่จะเล่นเสียงบอดในจังหวะที่ดีด
1. การ
mute เสียงด้วยมือขวา โดยการใช้สันมือบริเวณใกล้ ๆ ข้อมือ วางแตะไว้บริเวณ
bridge ค่อนเข้ามาทางสายกีตาร์ คือวางให้สันมือนั้นแตะสายกีตาร์ที่จะ mute เสียงในขณะดีด
ถ้าเป็นการตีคอร์ดจะวางแตะไว้ทั้ง 6 สาย
2. การ
mute เสียงด้วยมือซ้าย
โดยการยกนิ้วที่กดสายกีตาร์ขึ้นเล็กน้อยหลังจากดีดแล้ว
เช่นเมื่อจับคอร์ด F แบบทาบดีดทั้ง 6
สายทันใดนั้นก็ผ่อนนิ้วที่กดทั้งหมดขึ้น (ไม่ใช่ยกนิ้วออก
แต่แค่ผ่อนแรงกด) เสียงที่ดีดจะหยุดไป
สำหรับการหยุดเสียงวิธีนี้อาจจะต้องลองฝึกกันนิดนึงเพราะจังหวะอาจจะไม่
สัมพันธ์กันในการดีดและผ่อนแรงกด
ฮาร์โมนิค
เป็นคุณสมบัติหนึ่งของกีตาร์ที่น่าสนใจเนื่องจากเสียงที่ได้จะใส กังวาล
และเสียงสูงมากซึ่งเป็นคุณสมบัติทางกายภาพของสายกีตาร์ที่ถูกขึงด้วยแรงดึง
สูง
ๆ (เป็นเรื่องของคลื่นเสียงในแง่วิทยาศาสตร์)
การทำเสียงฮาร์โมนิคนั้นง่ายมากเพียงแค่วางนิ้วแต่บนสายตรงที่เหนือเฟร็ตที่
สามารถให้เสียงฮาร์โมนิคได้ชัดเจนซึ่งถ้าเป็นกีตาร์โปร่ง
จะมีที่เฟร็ตที่ 5, 7, 12 และ 19 จะให้เสียงฮาร์โมนิคที่ชัดที่สุด
นอกจากนี้ถ้าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าจะสามารถเล่นเสียงฮาร์โมนิคบนสายอื่นได้ด้วย
ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเสียงฮาร์โมนิคที่เกิดตามธรรมชาติหรือตามคุณสมบัติกายภาพของสายที่ถูกขึงให้ตึงซึ่งเรียกว่าฮาร์โมนิคแท้
(natural harmonic ; N.H.) แต่ยังมีฮาร์โมนิคอีกประเภทคือฮาร์โมนิคเทียม
(artificial harmonic ; A.H) ซึ่งเราไม่สามารถแต่สายแล้วดีดได้เช่นแบบแรกแต่อาศัยหลักของฮาร์โมนิคแท้มาใช้คือ
1. จะเล่นเสียงฮาร์โมนิคช่องไหนให้กดที่ช่องนั้น
เช่นช่องที่ 2 สาย 3
2. นับจากช่อง
2 ไป 12 ช่องได้ช่องที่ 14 ซึ่งเป็นช่องที่จะให้เสียงฮาร์โมนิค
3. ใช้นิ้วชี้มือขวาแตะไว้เหนือเฟร๊ตที่
14 จากนั้นใช้นิ้วกลางตวัดเกี่ยวสายขึ้น (ต้องลองฝึกดูครับ ผมไม่มีรูปมาให้ดูแต่จะพยายามหามาให้ดู)
4. ถ้าคุณจับปิคอยู่ให้เปลี่ยนการจับปิคเป็นใช้นิ้วกลางกับนิ้วโป้งจับแทน
จากนั้นใช้นิ้วชี้แตะเหนือเฟร๊ตและใช้นิ้วโป้งและนิ้วกลางจับปิคดีดก็ได้
(ต้องลองฝึกดูครับ ผมไม่มีรูปมาให้ดูแต่จะพยายามหามาให้ดู)
ต่อไปลองมาดูตัวอย่างการเล่นฮาร์โมนิคดูนะครับ
ตัวอย่างการเล่นฮาร์โมนิคแท้
วิธีการเล่น
1. วางนิ้วแตะเหนือเฟร็ต
12 สาย 2 แล้วจึงดีดสายดังกล่าว (อาจจะดีดสายตรงบริเวณที่ค่อนไปทางสะพานสายจะให้เสียงที่ชัดขึ้น)
2. โน๊ตที่เหลือปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ
1
ข้อสังเกต
1. โน๊ตที่เป็นฮาร์โมนิคจะมีสัญลักษณ์ที่หัวตัวโน๊ตเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
2. ในระบบ
tab โน๊ตที่เป็นฮาร์โมนิคจะอยู่ในวงเล็บตรง และกำกับเหนือ tab ด้วย N.A. (natural
harmonic) และเส้นประครอบคลุมโน๊ตทั้งหมดคือเป็นฮาร์โมนิคทั้งหมด
3. ในห้องที่
2 และ 4 เป็น tie note คือไม่ต้องดีด แต่นับจังหวะต่อจากห้องก่อนหน้ามัน ดูที่หัวข้อ
tied note สำหรับรายละเอียด
ตัวอย่างการเล่นฮาร์โมนิคเทียม
ตัวอย่างนี้เป็นท่อนจบของเพลง
"เพื่อเธอตลอดไป" ของแอม-ดา ซึ่งจบด้วยคอร์ด Dmaj7
วิธีการเล่น
1. ห้องแรกจับคอร์ด Dmaj7 ดีดกวาดลงช้า ๆ
2. ห้องที่สอง จับคอร์ดแบบเดิม เลื่อนนิ้วชี้มือขวาไปแตะเหนือเฟร็ตที่ 17 (5 +
12) ของสาย 1 เกี่ยวสายขึ้นด้วยนิ้วกลาง
3. เลื่อนนิ้วชี้มือขวาไปแตะเหนือเฟร็ตที่ 19 (7 + 12) ของสาย 2 เกี่ยวสายขึ้นด้วยนิ้วกลาง
4. เลื่อนนิ้วชี้มือขวาไปแตะเหนือเฟร็ตที่ 18 (6 + 12) ของสาย 3 เกี่ยวสายขึ้นด้วยนิ้วกลาง
5. ขั้นที่ 2 - 4 เล่นช้า ๆ ลองฝึกดูครับ
ข้อสังเกต
1. การแทนสัญลักษณ์ของฮาร์โมนิคเทียมจะแทนด้วย A.H. (artificial harmonic)
2. บอกเสียงของโน๊ตไว้ให้เนื่องจากสามารถเล่นได้หลายตำแหน่งเช่นนับไป 7 ช่องก็จะได้เสียงฮาร์โมนิคเช่นกันแต่คนละเสียง
การทำเสียงสั่นจะใช้เสมอในการโซโล่กีตาร์กับโน๊ตที่มีเสียงยาว
ซึ่งจะเพิ่มความนุ่มนวลให้กับเสียงโซโล่ของคุณ การทำเสียงสั่นอาจจะทำได้ 2 แบบคือ
- การสั่นนิ้วในแนวขนานกับคอกีตาร์
โดยการเขย่าข้อมือในแนวขนานกับคอกีตาร์ขณะที่นิ้วกดสายอยู่ วิธีนี้ต้องกดแรง ๆ
และเขย่าข้อมือเร็ว ๆ หน่อย
- การสั่นนิ้วในแนวตั้งฉากกับคอกีตาร์
โดยการเขย่าข้อมือในแนวตั้งฉากกับคอกีตาร์ขณะที่นิ้วกดสายอยู่
คุณสามารถควบคุมเสียงสั่นได้ง่ายกว่าแบบแรกเช่นการเขย่าข้อมือให้ช้าหรือ
เร็ว
การเขย่าข้อมือให้สูง ต่ำมากขึ้น
สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าอาจจะใช้คันโยกช่วยได้ด้วยคือการกดคันโยกขึ้นลง
ๆ ขณะเล่นโน๊ตตัวนั้น จะกดมากหรือน้อย จะกดขึ้นลงช้าเร็วเท่าใด แล้วแต่เสียงที่คุณต้องการ
ทั้งนี้การเล่น
vibrato คุณอาจจะต้องฝึกฝนให้ได้เสียงที่ไพเราะ และสามารถควบคุมการเล่นได้ โดยเฉพาะการโซโลกีตาร์การเล่น
vibrato จะช่วยสร้างความไพเราะได้อย่างมาก
จากรูป เครื่องหมายที่แสดงถึงการเล่นเสียงสั่นคือเครื่องหมายลอนคลื่อนซึ่งจากรูปมี
2 ช่วง ช่วงแรกจะเป็นลอนเล็ก คือการทำเสียงสั่นเล็กน้อย เล่นโดยการเลื่อนนิ้วขึ้นลงอย่างรวดเร็วในขณะที่กดและดีดสายดังกล่าว
และช่วงที่
2 ที่ลอนคลื่นขนาดใหญ่กว่าช่วงแรกคือ wide vibrato
หรือการเล่นเสียงสั่นที่มีชัดเจนกว่าแบบแรกเล่นโดยการเลื่อนนิ้วที่กดขึ้นลง
ในแนวตั้งฉากกับคอกีตาร์
ให้ช้าลงแต่เลื่อนนิ้วให้กว้างกว่าแบบแรกคือจังหวะเลื่อนนิ้วขึ้นก็ขึ้นสูง
กว่าและเลื่อนนิ้วลงก็ให้ต่ำกว่าแบบแรก
โดยการเขย่าข้อมือขึ้นลง จะได้เสียงที่ครางและไพเราะ(คล้าย ๆ
เสียงร้องเวลาเล่นลูกคอ)
อีกวิธีผมเคยอ่านหนังสือเจอว่าสามารถเล่นเสียงสั่นโดยการกำคอกีตาร์แน่น
ๆ แล้วเขย่าคอกีตาร์แรง ๆ (ในการเล่นกีตาร์ไฟฟ้า) แต่ผมยังไม่เคยลองดูซักที แต่คิดว่าน่าจะเหมือนกับ
2 วิธีแรกที่ผมแนะนำแหละครับ
เทคนิคนี้เป็นการรวมกันระหว่าง hammer on และ pull off สลับกันอย่างรวดเร็ว
วิธีการเล่นนั้นดูจากตัวอย่างด้านซ้ายนี้นะครับ ที่โน๊ตตัวที่ 3 กดที่ช่อง 8 สาย
3 แล้วดีดสาย 3 จากนั้นตบนิ้วไปที่ช่อง 10 (แสดงในวงเล็บ)แล้วปล่อยนิ้วขึ้น แล้วตบลงไปอีกสลับกันอย่างรวดเร็ว
จนครบจังหวะ
เช่นเดียวกันที่โน๊ตตัวที่
6 กดสาย 2 ช่อง 14 ดีดสาย 2 แล้วตบนิ้วขึ้นลงที่ช่อง 16 อย่างรวดเร็ว
หมายเหตุ: สัญลักษณ์ของการเล่น trill จะเป็นตัวอักษร tr
และตามด้วยรูปลอนคลื่น จะแสดงเหนือโน๊ตที่ต้องเล่น trill
คราวนี้เราจะมาศึกษาเทคนิคอื่น
ๆ ที่ใช้ประกอบกับการเล่นกีตาร์ที่ผมพอที่จะมีความรู้บ้างซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้กับการเล่นกีตาร์ไฟฟ้า
เช่นการกัดปิค การ tapping หรือจิ้มสาย เป็นต้น
1.
การ tapping หรือการจิ้มเคาะสาย ซึ่งมีหลายแบบเช่นจิ้มด้วยมือซ้าย
จิ้มด้วยมือขวา หรือใช้ทั้ง 2 มือใช้นิ้วหรือปิคจิ้ม เป็นต้นแทนใน tab ด้วย T เหนือโน๊ตที่จะจิ้มนั้น
การจิ้มด้วยมือขวาและมือขวาเดินเมโลดี้
จากตัวอย่างข้างบน
จะมีโน๊ตยืนคือช่อง 7 สาย 1 ซึ่งเราจะกดด้วยนิ้วมือซ้าย และนิ้วมือขวาอาจจะเป็นนิ้วชี้หรือนิ้วกลางก็ได้ใช้จิ้มสาย
และเดินเมโลดี้ เช่นจากตัวอย่าง เล่นโดย
1. ดีดสาย
1 ช่อง 7
2. จิ้มนิ้วมือขวาลงที่ช่อง
12 สาย 1 แล้วปล่อยนิ้วออกพูล ออฟ ไปหาช่อง 7 จังหวะที่ปล่อยนิ้วให้ใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสายเล็กน้อยเพื่อให้ได้เสียงที่ชัดเจน
3. เหมือนข้อ
2 แต่เปลี่ยนตำแหน่งที่จิ้มสายไปเรื่อย ๆ
การจิ้มด้วยมือขวาและมือซ้ายเดินเมโลดี้
จากตัวอย่างข้างบน
จะมีโน๊ตยืนคือช่อง 12 สาย 1 ซึ่งเราจะจิ้มด้วยนิ้วมือขวา และนิ้วมือซ้ายจะเป็นเปลี่ยนตำแหน่งที่กดสาย
และเดินเมโลดี้ เช่นจากตัวอย่าง เล่นโดย
1. จิ้มนิ้วมือขวาลงที่ช่อง
12 สาย 1 แล้วปล่อยนิ้วออกพูล ออฟ ไปหาช่อง 5 (ที่เรากดรอไว้ก่อน) จังหวะที่ปล่อยนิ้วให้ใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสายเล็กน้อยเพื่อให้ได้เสียงที่ชัดเจน
2. เหมือนข้อ
2 แต่เปลี่ยนตำแหน่งที่นิ้วมือขวากดสายไปเรื่อย ๆ
การจิ้มด้วยมือขวาและเดินเมโลดี้ทั้ง 2 มือ
จากตัวอย่างข้างบน
จะไม่มีโน๊ตยืนแต่จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งของมือขวาและมือซ้ายไปเรื่อย ๆ จากตัวอย่างเล่นได้โดย
1. จิ้มสายด้วยมือซ้าย
1 ช่อง 12 พูล ออฟโดยใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสายเล็กน้อยไปหาช่อง 8
และปล่อยนิ้วมือขวาที่กดช่อง 8 พูล ออฟ ไปหาสายเปล่า(0) แล้วเล่นแฮมเมอร์ ออนโดยตบนิ้วมือขวาลงมาที่ช่อง
8 อีก แล้วเล่นจิ้มใหม่ที่ช่อง 12 พูล ออฟ ไปช่อง 8 สายเปล่า แฮมเมอร์ ออนมาที่ช่อง
8
2. จิ้มสายด้วยมือซ้าย
1 ช่อง 10 พูล ออฟโดยใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสายเล็กน้อยไปหาช่อง 7
และปล่อยนิ้วมือขวาที่กดช่อง 7 พูล ออฟ ไปหาสายเปล่า(0) แล้วเล่นแฮมเมอร์ ออนโดยตบนิ้วมือขวาลงมาที่ช่อง
7 อีก แล้วเล่นจิ้มใหม่ที่ช่อง 10 พูล ออฟ ไปช่อง 7 สายเปล่า แฮมเมอร์ ออนมาที่ช่อง
7
3. เหมือนข้อ
2 แต่เปลี่ยนตำแหน่งที่จิ้มสายและกดสายไปเรื่อย ๆ
การจิ้มด้วยมือซ้าย
จริง ๆ แล้วจะจิ้มด้วยมือขวาก็ได้เช่นกัน
แต่จากตัวอย่างนี้เราจะลองใช้มือซ้ายจิ้มดูนะครับ วิธีเล่นคือ
1. ดีดสายเปล่าเส้น
3
2. แฮมเมอร์
ออน โดยจิ้มนิ้วมือซ้ายไปที่ช่อง 4 แล้วพูล ออฟโดยใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสายเล็กน้อย
ไปที่สายเปล่า
3. เหมือนข้อ
2 แต่เปลี่ยนจุดที่จะจิ้มสายไปเรื่อย
นอก
จากการเกี่ยวสายเล็กน้อยเมื่อยกนิ้วหลังจากจิ้มสายแล้ว
เทคนิคในการจิ้มสายอีกอย่างคือถ้ามือซ้ายเป็นตัวยืนนิ้วที่กดควรจะเล่นเสียง
สั่นไว้เพื่อให้เสียงที่ได้ยาวขึ้น
และการขจัดเสียงรบกวนขณะจิ้มสาย
โดยการใช้มือซ้ายเช่นใช้นิ้วกลางเป็นนิ้วกดและกางนิ้วชี้แตะสายอื่น
ๆ ทั้งหมดเพื่อกันเสียงรบกวน
หรือใช้สันมือของมือขวาแตะสายไว้ขณะที่จิ้มสาย
2.
การเล่นเสียงแผดหรือกัดปิค คุณคงจะเคยได้ยินเวลาเขาเล่นโซโล่แล้วมีเสียงบางตัวที่สูงมาก
แต่ไม่ใช่ฮาร์โมนิค ซึ่งเทคนิคนี้จริง ๆ แล้วเรียกว่า Pinch Harmonic (ใช้ P.H.ใน
tab) เคล็ดลับที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การจับปิคและการดีด
โดยการดีดลงนั้นต้องพยายามดีดเน้นและให้เนื้อส่วนปลายด้านนอกของนิ้วโป้งนั้นไปแตะกับสายเมื่อดีดไปแล้ว
ซึ่งจะต้องได้จังหวะกันพอดี ดังนั้นจึงต้องฝึกฝนพอสมควรจึงจะควบคุมการเล่นกัดปิคได้ตามต้องการ
3.
การเล่นขูดปิค (Pick Scrape) คุณสามารถสร้างเสียงเหมือนเครื่องบินไอพ่น
และสร้างอีกสีสรรในการโซโล่ได้ง่าย ๆ จากการเล่นขูดปิคหรือใช้ปิครูดสายวิธีเล่นก็ไม่ยากคือ
ให้จับปิคกลับหัวหรือไม่ก็หันทางสันปิคด้านบนเข้าหาสายแล้วใช้สันปิคนั้นครูดไปกับสายใดก็ได้(มักจะเล่นกับสายใหญ่เช่น
6 หรือ 5 เพราะเสียงจะชันเจนกว่า) โดยอาจจะครูดจากสะพานสายขึ้นไปหา nut หรือจาก
nut ลงไปหาสะพานสายก็ได้ โดยมักจะประกอบกับการโซโล่ตอนจะขึ้นหรือตอนจบท่อน
4.
การดีดกวาด (Sweep Picking) หรืออาจจะเรียกว่า arpeggio คือการกระจายคอร์ดซึ่งได้นำมาใช้ในการโซโลเพิ่มความรวดเร็วในการเล่น
คุณสามารถพบเทคนิคนี้ในนักดนตรีหลายคนเช่น Van Halen หรือ Vinie Moore แต่ที่โด่งดังและน่าศึกษาที่สุดคงจะเป็นงานของ
Yngwie Malmsteen นั่นเอง
การดีดกวาดหรือ
sweep picking คือการดีดลงอย่างต่อเนื่องแล้วจึงดีดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงให้มากคือเรื่องของจังหวะในการดีดโน๊ตแต่ละตัวจะต้องเท่ากัน
และความสะอาดของโน๊ตที่ดีดคือต้องไม่มีเสียงโน๊ตที่ดีดไปแล้วหรือโน๊ตอื่นดังแทรกเข้ามาลองมาดูตัวอย่างกันครับ
จากตัวอย่างจะเห็นว่าทิศทางการดีดจเป็นไปในทิศเดียวกันคือถ้าดีดลงจะลงเหมือนกันขึ้นก็ขึ้นเหมือนกัน
ซึ่งถ้าคุณสามารถควบคุมจังหวะในการดีดให้สม่ำเสมอแล้วคุณจะสามารถเล่นโน๊ตได้อย่างรวดเร็วจนน่าทึ่งเลยทีเดียว
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://easyguitar.kwanruean.com/technic.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)