ลูกเล่นและเทคนิคต่าง ๆ ในการเล่นกีตาร์
เอาล่ะครับเมื่อคุณรู้จักคอร์ด
กรารตีคอร์ดและการเกากีตาร์กันไปบ้างแล้ว ต่อไปผมจะได้กล่าวถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถใช้ร่วมกันกับการเล่นกีตาร์เพื่อเพิ่มสีสัน
ความไพเราะให้กับการเล่นกีตาร์ของคุณ ซึ่งเทคนิคต่าง ๆ นี้เป็นเพียงเทคนิคพื้นฐาน
โดยคุณสามารถศึกษาเทคนิคอื่น ๆ ได้จากหนังสืออื่น หรือจากศิลปินที่คุณชื่นชอบได้
หรือคุณอาจจะสร้างสรรเทคนิคใหม่ ๆ ด้วยตัวคุณเอง โดยอาศัยเทคนิคพื้นฐานต่อไปนี้
เทคนิคนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายสามารถใช้ได้ทั้งกับการตีคอร์ด
การเกาแและการโซโล่ การเล่น hammer on คือการทำให้โน๊ตมีเสียงสูงขึ้นจากการดีดครั้งเดียว
โดยอาศัยการกดนิ้วลงลงในช่องที่สูงขึ้นไป ทำให้ได้เสียงที่สองที่สูงกว่าเสียงแรก
ลองดูซิครับว่าในเชิงปฏิบัติทำยังไง
จากรูปตัวอย่าง
กดนิ้วชี้ที่สาย 1 ช่อง 5 ดีดสาย 1 แล้วตบนิ้วนางลงบนช่อง 7 (ไม่ต้องตบนิ้วแรงมากแค่กดนิ้วลงไป)
โดยไม่ต้องดีดซ้ำ จะได้เสียงที่ 2 ต่อเนื่องจากเสียงแรก
เทคนิคนี้เป็นอีกเทคนิคที่ใช้กันมาก
บางครั้งอาจใช้ร่วมกับ hammer on ด้วย ซึ่งการเล่นจะตรงกันข้ามกับ hammer on คือเป็นการทำให้เสียงต่ำลงจากการดีดเพียงครั้งเดียว
โดยการปล่อยนิ้วที่กดไปหานิ้วที่กดอยู่ที่ช่องต่ำกว่าหลังจากดีดแล้ว จะทำให้เสียงต่ำลง
ดูวิธีปฏิบัติครับ
จากรูปตัวอย่าง
กดนิ้วนางี้ที่สาย 1 ช่อง 7 ขณะเดียวกันนิ้วชี้กดที่ช่อง 5 รอไว้ ดีดสาย 1 แล้วปล่อยนิ้วนางที่กดช่อง
7 ขึ้น (อาจจะตวัดปลายนิ้วเล็กน้อยจะให้เสียงที่ชัดเจนขึ้น) โดยไม่ต้องดีดซ้ำ จะได้เสียงที่
2 ต่อเนื่องจากเสียงแรกเช่นกัน
เทคนิคการสไลด์
มีให้เห็นอยู่เสมอโดยเฉพาะในการโซโล่ เป็นการรูดนิ้วไปตามสายไปยังช่องอื่นที่สูงขึ้นหรือต่ำลง
หลังจากดีดไปแล้วโดยไม่ต้องยกนิ้วขึ้นเหมือนกับ hammer on หรือ pull off ดูตัวอย่างการเล่นสไลด์ครับ
การสไลด์แบบต่าง ๆ
|
รายละเอียด ขั้นตอนการเล่น
|
เรียกว่า legato สไลด์ลง | 1. กดนิ้วที่สาย 3 ช่อง 7 2. ดีดสาย 3 แล้วสไลด์นิ้วขึ้นไปยังช่อง 5 โดยไม่ต้องดีดอีก |
เรียกว่า legato สไลด์ลง | 1. กดนิ้วที่สาย 3 ช่อง 5 2. ดีดสาย 3 แล้วสไลด์นิ้วลงไปยังช่อง 7 โดยไม่ต้องดีดอีก |
เรียกว่าสไลด์ลง | 1. กดนิ้วที่สาย 3 ช่อง 7 2. ดีดสาย 3 แล้วสไลด์นิ้วขึ้นไปยังช่อง 5 แล้วดีดอีกครั้ง |
เรียกว่าสไลดขึ้น | 1. กดนิ้วที่สาย 3 ช่อง 5 2. ดีดสาย 3 แล้วสไลด์นิ้วลงไปยังช่อง 7 แล้วดีดอีกครั้ง |
เรียกว่ารูดสายลง | 1. ไม่มีจุดเริ่มสไลด์ตายตัว แต่อาจจะกะว่าอยู่ที่ช่องเหนือขึ้นไป 2 - 5 ช่อง 2. กดสาย 3 ที่ช่องที่เรากะไว้แล้วดีดสายและสไลด์นิ้วลงไปยังช่อง 7 |
เรียกว่ารูดสายขึ้น | 1. เช่นเดียวกัน จุดสิ้นสุดของการสไลด์อาจจะกะว่าอยู่ที่ช่องใต้ลงไปไป 2 - 5 ช่อง 2. กดสาย 3 ที่ช่องที่ 7 แล้วดีดสายและสไลด์นิ้วไปยังช่องที่เรากะไว้แล้วจึงยกนิ้วออก |
เทคนิค bend
หรือว่าดันสายมักจะพบในการโซโล่กีตาร์เช่นกัน การดันสายมีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน
เช่น ดัน 1/2 เสียง, 1 เสียง หรือ 2 เสียง, ดันสายไว้ก่อนแล้วค่อยดีดแล้วจึงลดนิ้วลง,
ดีดแล้วค่อยดันสายขึ้น เป็นต้น ลองมาดูตัวอย่างการฝึกดูซิครับ
การดันสายแบบต่าง
ๆ
|
วิธีการเล่น
|
ดีดก่อนแล้วดันสายขึ้น | 1. กดนิ้วบนช่องหรือโน๊ตที่จะดีด 2.
ดีดสายดังกล่าวแล้วออกแรงใช้นิ้วที่กดนั้นดันสายในทิศขึ้นให้ได้เสียงตามที่ต้องการ 3. หยุดเสียงโดยผ่อนแรงนิ้วที่กดสายเสียงจะหยุดไป |
ดีดก่อนดันสายขึ้นแล้วจึงผ่อนลง | 1. กดนิ้วบนช่องหรือโน๊ตที่จะดีด 2.
ดีดสายดังกล่าวแล้วออกแรงใช้นิ้วที่กดนั้นดันสายในทิศขึ้นให้ได้เสียงตามที่ต้องการ 3. ผ่อนนิ้วที่ดันสายลงมาอยู่ในตำแหน่งปกติ |
ดันสายไว้ก่อนแล้วจึงดีด | 1. กดนิ้วบนช่องที่จะเล่นแต่ดันสายรอเอาไว้ (กะให้ได้เสียงตามต้องการ ซึ่งครงนี้ต้องฝึกนิดนึง) 2. ดีดสายดังกล่าวขณะที่ดันสายอยู่ |
ดันสายไว้ก่อนแล้วจึงดีดแล้วผ่อนลง | 1. กดนิ้วบนช่องที่จะเล่นแต่ดันสายรอเอาไว้ (กะให้ได้เสียงตามต้องการ ซึ่งครงนี้ต้องฝึกนิดนึง) 2. ดีดสายดังกล่าวขณะที่ดันสายอยู่ จากนั้นจึงผ่อนนิ้วที่ดันสายลงเป็นปกติ |
หมายเหตุ 1. full หมายถึงดันสายไป 1 เสียงเต็ม หรือเท่ากับ 2 ช่องเฟร็ต
2. 1/4 หมายถึงดันสายไป 1/4 ของเสียง(กะประมาณดู) ,1/2 ดันไป 1/2 ของเสียงหรือ
1 เฟร็ต เป็นต้น
ทั้งหมดเป็นเพียงการดันสายแบบพื้นฐานคร่าว
ๆ อาจจะมีนอกเหนือไปกว่านี้ก็ได้ คุณอาจจะลองศึกษาเทคนิคดันสายในแบบอื่น ๆ อีกได้จากหนังสือหรือจากนักดนตรีทั่ว
ๆ ไป
การทำเสียงบอดหรือ
mute เสียง สามารถใช้ได้ทั้งกับการตีคอร์ด การเล่น picking และการ lead หรือ โซโล่
ในเพลงประเภทร็อคหรือเฮฟวี่ มักเล่น power chord โดยการ ทำเสียงบอด ทำให้คอร์ดกีตาร์มีความหนักแน่นขึ้น
สัญลักษณ์ที่จะพบใน tab หรือโน๊ตกีตาร์จะใช้เครื่องหมาย x (กากบาท) หรืออาจเขียนตัวอักษรบอกเหนือโน๊ตตัวนั้นว่า
P.M. (Palm Mute) ซึ่งในการปฏิบัติจะใช้สันมือด้านในของมือขวา (มือที่ดีดกีตาร์)
วางแตะเบา ๆ เหนือสายที่จะเล่นเสียงบอดในจังหวะที่ดีด
1. การ
mute เสียงด้วยมือขวา โดยการใช้สันมือบริเวณใกล้ ๆ ข้อมือ วางแตะไว้บริเวณ
bridge ค่อนเข้ามาทางสายกีตาร์ คือวางให้สันมือนั้นแตะสายกีตาร์ที่จะ mute เสียงในขณะดีด
ถ้าเป็นการตีคอร์ดจะวางแตะไว้ทั้ง 6 สาย
2. การ
mute เสียงด้วยมือซ้าย
โดยการยกนิ้วที่กดสายกีตาร์ขึ้นเล็กน้อยหลังจากดีดแล้ว
เช่นเมื่อจับคอร์ด F แบบทาบดีดทั้ง 6
สายทันใดนั้นก็ผ่อนนิ้วที่กดทั้งหมดขึ้น (ไม่ใช่ยกนิ้วออก
แต่แค่ผ่อนแรงกด) เสียงที่ดีดจะหยุดไป
สำหรับการหยุดเสียงวิธีนี้อาจจะต้องลองฝึกกันนิดนึงเพราะจังหวะอาจจะไม่
สัมพันธ์กันในการดีดและผ่อนแรงกด
ฮาร์โมนิค
เป็นคุณสมบัติหนึ่งของกีตาร์ที่น่าสนใจเนื่องจากเสียงที่ได้จะใส กังวาล
และเสียงสูงมากซึ่งเป็นคุณสมบัติทางกายภาพของสายกีตาร์ที่ถูกขึงด้วยแรงดึง
สูง
ๆ (เป็นเรื่องของคลื่นเสียงในแง่วิทยาศาสตร์)
การทำเสียงฮาร์โมนิคนั้นง่ายมากเพียงแค่วางนิ้วแต่บนสายตรงที่เหนือเฟร็ตที่
สามารถให้เสียงฮาร์โมนิคได้ชัดเจนซึ่งถ้าเป็นกีตาร์โปร่ง
จะมีที่เฟร็ตที่ 5, 7, 12 และ 19 จะให้เสียงฮาร์โมนิคที่ชัดที่สุด
นอกจากนี้ถ้าเป็นกีตาร์ไฟฟ้าจะสามารถเล่นเสียงฮาร์โมนิคบนสายอื่นได้ด้วย
ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเสียงฮาร์โมนิคที่เกิดตามธรรมชาติหรือตามคุณสมบัติกายภาพของสายที่ถูกขึงให้ตึงซึ่งเรียกว่าฮาร์โมนิคแท้
(natural harmonic ; N.H.) แต่ยังมีฮาร์โมนิคอีกประเภทคือฮาร์โมนิคเทียม
(artificial harmonic ; A.H) ซึ่งเราไม่สามารถแต่สายแล้วดีดได้เช่นแบบแรกแต่อาศัยหลักของฮาร์โมนิคแท้มาใช้คือ
1. จะเล่นเสียงฮาร์โมนิคช่องไหนให้กดที่ช่องนั้น
เช่นช่องที่ 2 สาย 3
2. นับจากช่อง
2 ไป 12 ช่องได้ช่องที่ 14 ซึ่งเป็นช่องที่จะให้เสียงฮาร์โมนิค
3. ใช้นิ้วชี้มือขวาแตะไว้เหนือเฟร๊ตที่
14 จากนั้นใช้นิ้วกลางตวัดเกี่ยวสายขึ้น (ต้องลองฝึกดูครับ ผมไม่มีรูปมาให้ดูแต่จะพยายามหามาให้ดู)
4. ถ้าคุณจับปิคอยู่ให้เปลี่ยนการจับปิคเป็นใช้นิ้วกลางกับนิ้วโป้งจับแทน
จากนั้นใช้นิ้วชี้แตะเหนือเฟร๊ตและใช้นิ้วโป้งและนิ้วกลางจับปิคดีดก็ได้
(ต้องลองฝึกดูครับ ผมไม่มีรูปมาให้ดูแต่จะพยายามหามาให้ดู)
ต่อไปลองมาดูตัวอย่างการเล่นฮาร์โมนิคดูนะครับ
ตัวอย่างการเล่นฮาร์โมนิคแท้
วิธีการเล่น
1. วางนิ้วแตะเหนือเฟร็ต
12 สาย 2 แล้วจึงดีดสายดังกล่าว (อาจจะดีดสายตรงบริเวณที่ค่อนไปทางสะพานสายจะให้เสียงที่ชัดขึ้น)
2. โน๊ตที่เหลือปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ
1
ข้อสังเกต
1. โน๊ตที่เป็นฮาร์โมนิคจะมีสัญลักษณ์ที่หัวตัวโน๊ตเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
2. ในระบบ
tab โน๊ตที่เป็นฮาร์โมนิคจะอยู่ในวงเล็บตรง และกำกับเหนือ tab ด้วย N.A. (natural
harmonic) และเส้นประครอบคลุมโน๊ตทั้งหมดคือเป็นฮาร์โมนิคทั้งหมด
3. ในห้องที่
2 และ 4 เป็น tie note คือไม่ต้องดีด แต่นับจังหวะต่อจากห้องก่อนหน้ามัน ดูที่หัวข้อ
tied note สำหรับรายละเอียด
ตัวอย่างการเล่นฮาร์โมนิคเทียม
ตัวอย่างนี้เป็นท่อนจบของเพลง
"เพื่อเธอตลอดไป" ของแอม-ดา ซึ่งจบด้วยคอร์ด Dmaj7
วิธีการเล่น
1. ห้องแรกจับคอร์ด Dmaj7 ดีดกวาดลงช้า ๆ
2. ห้องที่สอง จับคอร์ดแบบเดิม เลื่อนนิ้วชี้มือขวาไปแตะเหนือเฟร็ตที่ 17 (5 +
12) ของสาย 1 เกี่ยวสายขึ้นด้วยนิ้วกลาง
3. เลื่อนนิ้วชี้มือขวาไปแตะเหนือเฟร็ตที่ 19 (7 + 12) ของสาย 2 เกี่ยวสายขึ้นด้วยนิ้วกลาง
4. เลื่อนนิ้วชี้มือขวาไปแตะเหนือเฟร็ตที่ 18 (6 + 12) ของสาย 3 เกี่ยวสายขึ้นด้วยนิ้วกลาง
5. ขั้นที่ 2 - 4 เล่นช้า ๆ ลองฝึกดูครับ
ข้อสังเกต
1. การแทนสัญลักษณ์ของฮาร์โมนิคเทียมจะแทนด้วย A.H. (artificial harmonic)
2. บอกเสียงของโน๊ตไว้ให้เนื่องจากสามารถเล่นได้หลายตำแหน่งเช่นนับไป 7 ช่องก็จะได้เสียงฮาร์โมนิคเช่นกันแต่คนละเสียง
การทำเสียงสั่นจะใช้เสมอในการโซโล่กีตาร์กับโน๊ตที่มีเสียงยาว
ซึ่งจะเพิ่มความนุ่มนวลให้กับเสียงโซโล่ของคุณ การทำเสียงสั่นอาจจะทำได้ 2 แบบคือ
- การสั่นนิ้วในแนวขนานกับคอกีตาร์
โดยการเขย่าข้อมือในแนวขนานกับคอกีตาร์ขณะที่นิ้วกดสายอยู่ วิธีนี้ต้องกดแรง ๆ
และเขย่าข้อมือเร็ว ๆ หน่อย
- การสั่นนิ้วในแนวตั้งฉากกับคอกีตาร์
โดยการเขย่าข้อมือในแนวตั้งฉากกับคอกีตาร์ขณะที่นิ้วกดสายอยู่
คุณสามารถควบคุมเสียงสั่นได้ง่ายกว่าแบบแรกเช่นการเขย่าข้อมือให้ช้าหรือ
เร็ว
การเขย่าข้อมือให้สูง ต่ำมากขึ้น
สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าอาจจะใช้คันโยกช่วยได้ด้วยคือการกดคันโยกขึ้นลง
ๆ ขณะเล่นโน๊ตตัวนั้น จะกดมากหรือน้อย จะกดขึ้นลงช้าเร็วเท่าใด แล้วแต่เสียงที่คุณต้องการ
ทั้งนี้การเล่น
vibrato คุณอาจจะต้องฝึกฝนให้ได้เสียงที่ไพเราะ และสามารถควบคุมการเล่นได้ โดยเฉพาะการโซโลกีตาร์การเล่น
vibrato จะช่วยสร้างความไพเราะได้อย่างมาก
จากรูป เครื่องหมายที่แสดงถึงการเล่นเสียงสั่นคือเครื่องหมายลอนคลื่อนซึ่งจากรูปมี
2 ช่วง ช่วงแรกจะเป็นลอนเล็ก คือการทำเสียงสั่นเล็กน้อย เล่นโดยการเลื่อนนิ้วขึ้นลงอย่างรวดเร็วในขณะที่กดและดีดสายดังกล่าว
และช่วงที่
2 ที่ลอนคลื่นขนาดใหญ่กว่าช่วงแรกคือ wide vibrato
หรือการเล่นเสียงสั่นที่มีชัดเจนกว่าแบบแรกเล่นโดยการเลื่อนนิ้วที่กดขึ้นลง
ในแนวตั้งฉากกับคอกีตาร์
ให้ช้าลงแต่เลื่อนนิ้วให้กว้างกว่าแบบแรกคือจังหวะเลื่อนนิ้วขึ้นก็ขึ้นสูง
กว่าและเลื่อนนิ้วลงก็ให้ต่ำกว่าแบบแรก
โดยการเขย่าข้อมือขึ้นลง จะได้เสียงที่ครางและไพเราะ(คล้าย ๆ
เสียงร้องเวลาเล่นลูกคอ)
อีกวิธีผมเคยอ่านหนังสือเจอว่าสามารถเล่นเสียงสั่นโดยการกำคอกีตาร์แน่น
ๆ แล้วเขย่าคอกีตาร์แรง ๆ (ในการเล่นกีตาร์ไฟฟ้า) แต่ผมยังไม่เคยลองดูซักที แต่คิดว่าน่าจะเหมือนกับ
2 วิธีแรกที่ผมแนะนำแหละครับ
เทคนิคนี้เป็นการรวมกันระหว่าง hammer on และ pull off สลับกันอย่างรวดเร็ว
วิธีการเล่นนั้นดูจากตัวอย่างด้านซ้ายนี้นะครับ ที่โน๊ตตัวที่ 3 กดที่ช่อง 8 สาย
3 แล้วดีดสาย 3 จากนั้นตบนิ้วไปที่ช่อง 10 (แสดงในวงเล็บ)แล้วปล่อยนิ้วขึ้น แล้วตบลงไปอีกสลับกันอย่างรวดเร็ว
จนครบจังหวะ
เช่นเดียวกันที่โน๊ตตัวที่
6 กดสาย 2 ช่อง 14 ดีดสาย 2 แล้วตบนิ้วขึ้นลงที่ช่อง 16 อย่างรวดเร็ว
หมายเหตุ: สัญลักษณ์ของการเล่น trill จะเป็นตัวอักษร tr
และตามด้วยรูปลอนคลื่น จะแสดงเหนือโน๊ตที่ต้องเล่น trill
คราวนี้เราจะมาศึกษาเทคนิคอื่น
ๆ ที่ใช้ประกอบกับการเล่นกีตาร์ที่ผมพอที่จะมีความรู้บ้างซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้กับการเล่นกีตาร์ไฟฟ้า
เช่นการกัดปิค การ tapping หรือจิ้มสาย เป็นต้น
1.
การ tapping หรือการจิ้มเคาะสาย ซึ่งมีหลายแบบเช่นจิ้มด้วยมือซ้าย
จิ้มด้วยมือขวา หรือใช้ทั้ง 2 มือใช้นิ้วหรือปิคจิ้ม เป็นต้นแทนใน tab ด้วย T เหนือโน๊ตที่จะจิ้มนั้น
การจิ้มด้วยมือขวาและมือขวาเดินเมโลดี้
จากตัวอย่างข้างบน
จะมีโน๊ตยืนคือช่อง 7 สาย 1 ซึ่งเราจะกดด้วยนิ้วมือซ้าย และนิ้วมือขวาอาจจะเป็นนิ้วชี้หรือนิ้วกลางก็ได้ใช้จิ้มสาย
และเดินเมโลดี้ เช่นจากตัวอย่าง เล่นโดย
1. ดีดสาย
1 ช่อง 7
2. จิ้มนิ้วมือขวาลงที่ช่อง
12 สาย 1 แล้วปล่อยนิ้วออกพูล ออฟ ไปหาช่อง 7 จังหวะที่ปล่อยนิ้วให้ใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสายเล็กน้อยเพื่อให้ได้เสียงที่ชัดเจน
3. เหมือนข้อ
2 แต่เปลี่ยนตำแหน่งที่จิ้มสายไปเรื่อย ๆ
การจิ้มด้วยมือขวาและมือซ้ายเดินเมโลดี้
จากตัวอย่างข้างบน
จะมีโน๊ตยืนคือช่อง 12 สาย 1 ซึ่งเราจะจิ้มด้วยนิ้วมือขวา และนิ้วมือซ้ายจะเป็นเปลี่ยนตำแหน่งที่กดสาย
และเดินเมโลดี้ เช่นจากตัวอย่าง เล่นโดย
1. จิ้มนิ้วมือขวาลงที่ช่อง
12 สาย 1 แล้วปล่อยนิ้วออกพูล ออฟ ไปหาช่อง 5 (ที่เรากดรอไว้ก่อน) จังหวะที่ปล่อยนิ้วให้ใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสายเล็กน้อยเพื่อให้ได้เสียงที่ชัดเจน
2. เหมือนข้อ
2 แต่เปลี่ยนตำแหน่งที่นิ้วมือขวากดสายไปเรื่อย ๆ
การจิ้มด้วยมือขวาและเดินเมโลดี้ทั้ง 2 มือ
จากตัวอย่างข้างบน
จะไม่มีโน๊ตยืนแต่จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งของมือขวาและมือซ้ายไปเรื่อย ๆ จากตัวอย่างเล่นได้โดย
1. จิ้มสายด้วยมือซ้าย
1 ช่อง 12 พูล ออฟโดยใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสายเล็กน้อยไปหาช่อง 8
และปล่อยนิ้วมือขวาที่กดช่อง 8 พูล ออฟ ไปหาสายเปล่า(0) แล้วเล่นแฮมเมอร์ ออนโดยตบนิ้วมือขวาลงมาที่ช่อง
8 อีก แล้วเล่นจิ้มใหม่ที่ช่อง 12 พูล ออฟ ไปช่อง 8 สายเปล่า แฮมเมอร์ ออนมาที่ช่อง
8
2. จิ้มสายด้วยมือซ้าย
1 ช่อง 10 พูล ออฟโดยใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสายเล็กน้อยไปหาช่อง 7
และปล่อยนิ้วมือขวาที่กดช่อง 7 พูล ออฟ ไปหาสายเปล่า(0) แล้วเล่นแฮมเมอร์ ออนโดยตบนิ้วมือขวาลงมาที่ช่อง
7 อีก แล้วเล่นจิ้มใหม่ที่ช่อง 10 พูล ออฟ ไปช่อง 7 สายเปล่า แฮมเมอร์ ออนมาที่ช่อง
7
3. เหมือนข้อ
2 แต่เปลี่ยนตำแหน่งที่จิ้มสายและกดสายไปเรื่อย ๆ
การจิ้มด้วยมือซ้าย
จริง ๆ แล้วจะจิ้มด้วยมือขวาก็ได้เช่นกัน
แต่จากตัวอย่างนี้เราจะลองใช้มือซ้ายจิ้มดูนะครับ วิธีเล่นคือ
1. ดีดสายเปล่าเส้น
3
2. แฮมเมอร์
ออน โดยจิ้มนิ้วมือซ้ายไปที่ช่อง 4 แล้วพูล ออฟโดยใช้ปลายนิ้วเกี่ยวสายเล็กน้อย
ไปที่สายเปล่า
3. เหมือนข้อ
2 แต่เปลี่ยนจุดที่จะจิ้มสายไปเรื่อย
นอก
จากการเกี่ยวสายเล็กน้อยเมื่อยกนิ้วหลังจากจิ้มสายแล้ว
เทคนิคในการจิ้มสายอีกอย่างคือถ้ามือซ้ายเป็นตัวยืนนิ้วที่กดควรจะเล่นเสียง
สั่นไว้เพื่อให้เสียงที่ได้ยาวขึ้น
และการขจัดเสียงรบกวนขณะจิ้มสาย
โดยการใช้มือซ้ายเช่นใช้นิ้วกลางเป็นนิ้วกดและกางนิ้วชี้แตะสายอื่น
ๆ ทั้งหมดเพื่อกันเสียงรบกวน
หรือใช้สันมือของมือขวาแตะสายไว้ขณะที่จิ้มสาย
2.
การเล่นเสียงแผดหรือกัดปิค คุณคงจะเคยได้ยินเวลาเขาเล่นโซโล่แล้วมีเสียงบางตัวที่สูงมาก
แต่ไม่ใช่ฮาร์โมนิค ซึ่งเทคนิคนี้จริง ๆ แล้วเรียกว่า Pinch Harmonic (ใช้ P.H.ใน
tab) เคล็ดลับที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การจับปิคและการดีด
โดยการดีดลงนั้นต้องพยายามดีดเน้นและให้เนื้อส่วนปลายด้านนอกของนิ้วโป้งนั้นไปแตะกับสายเมื่อดีดไปแล้ว
ซึ่งจะต้องได้จังหวะกันพอดี ดังนั้นจึงต้องฝึกฝนพอสมควรจึงจะควบคุมการเล่นกัดปิคได้ตามต้องการ
3.
การเล่นขูดปิค (Pick Scrape) คุณสามารถสร้างเสียงเหมือนเครื่องบินไอพ่น
และสร้างอีกสีสรรในการโซโล่ได้ง่าย ๆ จากการเล่นขูดปิคหรือใช้ปิครูดสายวิธีเล่นก็ไม่ยากคือ
ให้จับปิคกลับหัวหรือไม่ก็หันทางสันปิคด้านบนเข้าหาสายแล้วใช้สันปิคนั้นครูดไปกับสายใดก็ได้(มักจะเล่นกับสายใหญ่เช่น
6 หรือ 5 เพราะเสียงจะชันเจนกว่า) โดยอาจจะครูดจากสะพานสายขึ้นไปหา nut หรือจาก
nut ลงไปหาสะพานสายก็ได้ โดยมักจะประกอบกับการโซโล่ตอนจะขึ้นหรือตอนจบท่อน
4.
การดีดกวาด (Sweep Picking) หรืออาจจะเรียกว่า arpeggio คือการกระจายคอร์ดซึ่งได้นำมาใช้ในการโซโลเพิ่มความรวดเร็วในการเล่น
คุณสามารถพบเทคนิคนี้ในนักดนตรีหลายคนเช่น Van Halen หรือ Vinie Moore แต่ที่โด่งดังและน่าศึกษาที่สุดคงจะเป็นงานของ
Yngwie Malmsteen นั่นเอง
การดีดกวาดหรือ
sweep picking คือการดีดลงอย่างต่อเนื่องแล้วจึงดีดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงให้มากคือเรื่องของจังหวะในการดีดโน๊ตแต่ละตัวจะต้องเท่ากัน
และความสะอาดของโน๊ตที่ดีดคือต้องไม่มีเสียงโน๊ตที่ดีดไปแล้วหรือโน๊ตอื่นดังแทรกเข้ามาลองมาดูตัวอย่างกันครับ
จากตัวอย่างจะเห็นว่าทิศทางการดีดจเป็นไปในทิศเดียวกันคือถ้าดีดลงจะลงเหมือนกันขึ้นก็ขึ้นเหมือนกัน
ซึ่งถ้าคุณสามารถควบคุมจังหวะในการดีดให้สม่ำเสมอแล้วคุณจะสามารถเล่นโน๊ตได้อย่างรวดเร็วจนน่าทึ่งเลยทีเดียว
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://easyguitar.kwanruean.com/technic.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น