ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

การเล่นคอร์ดกีต้าร์เบื้องต้น

การเล่นคอร์ดกีตาร์เบื้องต้น


               ตรงนี้มีความสำคัญมากสำหรับมือใหม่ เพื่อเป็นการฝึกให้คุ้นเคยกับจังหวะดนตรี การเปลี่ยนคอร์ดที่สัมพันธ์กับจังหวะดนตรีและการตีคอร์ด ลักษณะของการตีคอร์ดนั้นเราอาจจะเข้าใจว่าคือการใช้ปิคดีดสายกีตาร์ ขึ้น ๆ ลง ๆ เท่านั้น แต่จริง ๆ มันมีความหมายมากกว่านั้น เช่นการดีดต้องดีดสายไหนบ้าง ดีดขึ้นกี่ทีลงกี่ที และเมื่ไรจะเปลี่ยนคอร์ด ดีดแบบเสียงบอดทำยังไงใช้เมื่อไร และปัญหาที่ทุกคนมักจะคิดถึงคือดีดยังไงถึงจะเพราะ ก่อนอื่นเราไปรู้จักอุปกรณ์สำคัญในการตีคอร์ด นั่นคือปิคกีตาร์
                    ตอนนี้เรามารู้จักการจับปิคกันก่อนนะครับ ซึ่งก็ไม่ได้มีกำหนดกฎเกณฑ์ว่าจับอย่างไรแต่ท่าที่สำคัญคือ ต้องจับให้มั่นคง และสะดวกในการดีด และถนัดกับตัวคนเล่นเอง แต่ส่วนใหญ่ที่เป็นแบบที่นิยมกันก็คือการวางปิคลงบนด้านข้างปลายนิ้วชี้ แล้วใช้นิ้วโป้งกดทับ โดยทำมือที่จะจับปิคดังรูปที่ 1 และ 2 ส่วนรูปที่ 3 คือรูปที่จับปิคแล้ว ลองปรับท่าจับให้มั่นคงแข็งแรงและถนัดที่สุดเพื่อเวลาดีดปิคจะได้ไม่หลุดจากมือ
hold-pick.gif (23630 bytes)
                    คราวนี้ลองทดสอบดูครับ ลองจับปิคให้มั่นคง ลองดีดกีตาร์จากสาย 6 ไปหาสาย 1 (สายใหญ่->เล็ก) จากนั้นดีดย้อนขึ้นจากสาย 1 ไปสาย 6 สังเกตการดีดให้จังหวะการดีดแต่ละเส้นนั้นให้เท่ากัน คือเสียงเรียบสม่ำเสมอ ในขั้นแรกนี้ลองฝึกให้จังหวะการดีดของคุณสม่ำเสมอก่อนทั้งขึ้และลง ใจเย็น ๆ นะครับอย่าเพิ่งใจร้อนเลยครับ เราเริ่มจากแบบเรียน ก.ไก่ ข.ไข่ ก่อนต่อไปเราถึงจะอ่านหนังสือออกจริงมั๊ยครับ!!!! ลองมาดูท่าทางการดีดที่ถูกต้องนะครับ
r-hand.gif (6550 bytes)r-hand1.gif (5312 bytes)pick.gif (3857 bytes)
                    เอาล่ะครับตอนนี้ผมถือว่าเพื่อน ๆ คุ้นเคยกับการจับปิคดีดสายกีตาร์แล้วนะครับ ซึ่งหมายถึงคุณสามารถดีดได้อย่างเป็นธรรมชาติ จังหวะสม่ำเสมอ คราวนี้เราจะมาลองดีดกับคอร์ดกีตาร์จริง ๆ ดีกว่า ในขั้นนี้ผมขอแนะนำคอร์ดง่าย ๆ และใช้กันมากเพื่อให้คุณฝึกหัดกันก่อนครับได้แก่ คอร์ด C, Am, Dm, G7 หรือ คอร์ดซี, เอ-ไมเนอร์, ดี-ไมเนอร์ และ จี-เซเว่น เรามาดูโครงสร้างการจับแต่ละคอร์ดกันครับ
4-chord1.gif (6274 bytes)
                    ผมขออธิบายนิดนึงนะครับสำหรับการอ่านไดอะแกรมคอร์ด เส้นในแนวตั้ง 6 เส้นหมายถึง สายกีตาร์ 6 สายนั่นเองโดยสาย 6 จะอยู่ทางซ้ายมือสุด และสาย 1 อยู่ทางขวามือสุด ส่วนเส้นแนวนอน หมายถึงเฟร็ตต่าง ๆ ถ้าไม่มีตัวเลขกำหนดจะหมายถึงเริ่มจากเฟร็ตที่ 1 เสมอ จุดดำนั้นคือจุดที่ต้องกดสายและตัวเลขที่อยู่ในจุดดำหมายถึงนิ้วเช่น 1= นิ้วชี้ (ดูสัญลักษณ์มือซ้ายด้านบน) ก็คือใช้นิ้วชี้กด ส่วนเครื่องหมาย X หมายถึงไม่ต้องเล่นสายนั้นเวลาดีด (แล้วจะรู้ว่าทำไมถึงไม่เล่นสายดังกล่าวในภายหลัง) และ O คือ สายเปิดสามารถเล่นได้เวลาดีด
                    คราวนี้เพื่อน ๆ ลองจับคอร์ดต่าง ๆ ดูครับ ลองฝึกการวางนิ้วแบบที่ได้บอกไปแล้วนะครับลองเปลี่ยนคอร์ดดูคร่าว ๆ เมื่อคุณคุ้นเคยกับการจับคอร์พอสมควรแล้ว เราลองมาใช้ปิคดีดดูทีละสาย เพื่อเช็คว่ามีสายไหนบอดบ้าง โดยใช้ปิคดีดลงทีละสายเช่น คอร์ด C ลองดีดจากสาย 5 -> 4 -> 3 -> 2 -> 1 แล้วสังเกตฟังดูว่าสายใดบอดบ้าง เสียงบอกคือเสียงที่วเลาดีดแล้วไม่ใส ดังแป๊ก ๆ เนื่องจากมีนิ้วใดนิ้วหนึ่งไปโดน คุณลองดูว่ามีส่วนใดของนิ้วอื่นที่ไม่ได้กดเส้นดังกล่าวไปแตะโดนหรือไม่ แล้วพยายามจัดรูปนิ้วใหม่ ไม่ให้ไปโดนสายดังกล่าว
                ต่อไปลองดีดเป็นจังหวะ ๆ แล้วเปลี่ยนคอร์ดนะครับโดยการดีดลง 1 ทีนับ 1 เราฝึกโดยดีดลง 4 ครั้งแล้วเปลี่ยนคอร์ดนะครับเริ่มกันเลย
   C                  Am                  Dm                 G7
wpe10.jpg (4493 bytes)
   1   2   3    4        1   2   3   4        1   2   3  4         1   2   3  4
                    นับจังหวะการดีดดังนี้ (ดูจากรูปลูกศรลงคือการดีดลง 1 ครั้ง) จับคอร์ด C ดีดลงนับ 1 ดีดลงนับ 2 ดีดลงนับ 3 ดีดลงนับ 4   เปลี่ยนคอร์ดเป็น Am แล้วดีดเช่นเดิมอีก 4 จังหวะ จึงเปลี่ยนเป็นคอร์ด Dm ดีดอีกสี่จังหวะ เปลี่ยนเป็นคอร์ด G7 ดีดอีก 4 จังหวะแล้วเปลี่ยนกับไปเป็นคอร์ด C .....ทำเช่นนี้ต่อไป
                    ช่วงแรกขอให้เพื่อน ๆ ฝึกเท่านี้ก่อนที่จะไปฝึกอย่างอื่น อย่าลืมนะครับสำคัญมากคุณควรจะฝึกการดีดให้เป็นจังหวะจะโคน เปลี่ยนคอร์ดให้สัมพันธ์กับจังหวะและการดีดกีตาร์ โดยคุณอาจจะลองเปลี่ยนจากการดีด 4 จังหวะมาเป็น 3 จังหวะแล้วเปลี่ยนคอร์ด 2 จังหวะแล้วเปลี่ยนคอร์ด หรือ 1 จังหวะแล้วเปลี่ยนคอร์ด และเพิ่มความเร็วในการดีดให้เร็วมากขึ้น จนคุณรู้สึกว่าคุ้นเคยกับการดีดและการเปลี่ยนคอร์ด อย่าใจร้อนนะครับ ตอนผมฝึกใหม่ ๆ ผมหัดแค่นี้แหละครับหัดอยู่หลายวันกว่าจะคล่องจากนั้นจึงค่อยไปหาเพลงที่มี 4 คอร์ดดังกล่าวมาลองเล่นดูแล้วจึงเริ่มศึกษาคอร์ดใหม่ ๆ และเพลงใหม่ ๆ จะเริ่มเรียนรู้มากขึ้น ดังนั้นใจเย็น ๆ ค่อยเป็นค่อยไปดีกว่า

     แบบฝึกหัด ในส่วนนี้เพื่อน ๆ จะได้ลองทดสอบการใช้มือซ้ายและมือขวา การดีดกีตาร์ ในแบบฝึกหัดต่าง ๆ ลองฝึกดูให้รู้สึกชินกับจังหวะการดีดการเปลี่ยนคอร์ดนะครับ
        แบบฝึกหัดที่ 1 ตรวจสอบว่าเสียงบอดหรือไม่ โดยใช้ปิคดีดลงทีละสายแล้วจึงเปลี่ยนคอร์ด สำหรับ diagram ข้างล่างนี้เรียกว่าระบบ tablature ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในภายหลัง ตอนนี้ขอให้รู้เพียงคร่าว ๆ คือเส้นทั้ง 6 เส้นแทนสายกีตาร์ 6 สาย (สาย 6 หรือสายใหญ่สูงอยู่เส้นล่างสุด ส่วนสาย 1 หรือสายเล็กสุดอยู่เส้นบนสุด) ส่วนตัวเลขที่ทับอยู่บนสายแต่ละสายคือเลขบอกช่องบนคอกีตาร์ที่คุณต้องกด สังเกตจากห้องแรก กดสาย 5 ช่อง 3 สาย 4 ช่อง 2 สาย 3 เป็น 0 คือ ไม่ต้องกด สาย 2 กดช่อง 1 สาย 1 เป็น 0 ไม่ต้องกด ก็จะได้รูปคอร์ด C นั่นเอง ส่วนการดีดให้ดีดเฉพาะเส้นที่มีตัวเลขกำกับ
ex.gif (3625 bytes)
       แบบฝึกหัดที่ 2 ดีดลงคอร์ดละ 4 จังหวะจึงเปลี่ยนคอร์ด
        ความหมาย : ลูกศรชี้ขึ้นหมายถึงตีคอร์ดลง คือ ดีดผ่านจากสาย 6 ไปหาสาย 1
                            ลูกศรชี้ลงหมายถึงตีคอร์ดขึ้น คือ ดีดผ่านจากสาย 1 ไปหาสาย 6
ex1.gif (3258 bytes)
        แบบฝึกหัดที่ 3 ดีดลงคอร์ดละ 3 จังหวะจึงเปลี่ยนคอร์ด
ex2.gif (3064 bytes)
        แบบฝึกหัดที่ 4 ดีดลงคอร์ดละ 2 จังหวะจึงเปลี่ยนคอร์ด
ex3.gif (2792 bytes)
        แบบฝึกหัดที่ 5 ดีดลงคอร์ดละ 1 จังหวะจึงเปลี่ยนคอร์ด
ex4.gif (2461 bytes)
        แบบฝึกหัดที่ 6 ดีดสลับขึ้นลงคอร์ดละ 4 จังหวะจึงเปลี่ยนคอร์ด
ex5.gif (2976 bytes)
        แบบฝึกหัดที่ 7 ดีดสลับขึ้นลงคอร์ดละ 2 จังหวะจึงเปลี่ยนคอร์ด
ex6.gif (2774 bytes)
         การตีคอร์ด (strum)
            การตีคอร์ดหรือ strumming เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเล่นกีตาร์หมายถึงการดีดสายทั้ง 6 หรือบางสาย ของกีตาร์ในเวลาเดียวกันอาจจะดีดด้วยปิค หรือ นิ้วมือก็ได้ในทิศขึ้นหรือลงตามจังหวะ ซึ่งไม่ได้กำหนดว่ามีกี่แบบเพียงแต่ต้องดีดให้สอดคล้องกับจังหวะของเพลง ซึ่งในส่วนนี้ผมจะกล่าวถึงสัญลักษณ์และรูปแบบต่าง ๆ ในการตีคอร์ดเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางให้คุณได้ฝึกและศึกษาการตีคอร์ดในแบบอื่น ๆ ต่อไป
สัญลักษณ์ทางการตีคอร์ด
            ก่อนอื่นผมขอแนะนำสัญลักษณ์ที่ใช้ในการตีคอร์ดก่อนนะครับ ได้แก่เครื่องหมายบอกถึงจังหวะความสั้นยาวของการตีคอร์ด ซึ่งจะคล้ายกับโน๊ตสากลนั่นเองลองดูกันครับ
สัญลักษณ์
ความหมาย
strum-s3.gif (953 bytes)
เหมือนกับโน๊ตตัวกลม หรือมีค่าเป็น 4 จังหวะ (time signature 4/4)
strum-s2.gif (989 bytes)
เหมือนกับโน๊ตตัวขาวประจุด หรือมีค่าเป็น 2+1 = 3 จังหวะ
strum-s1.gif (983 bytes)
เหมือนกับโน๊ตตัวขาว หรือมีค่าเป็น 2 จังหวะ
strum-s.gif (966 bytes)
เหมือนกับโน๊ตตัวดำ หรือมีค่าเป็น 1 จังหวะ
strum-s4.gif (981 bytes)หรือเมื่อเขียนหลายตัวติดกันstrum-s5.gif (1002 bytes)
เหมือนกับโน๊ตเขบ็ต 1 ชั้น หรือมีค่าเป็น 1/2 จังหวะ
strum-mute.gif (974 bytes)
เป็นการดีดเสียงบอด (ดูรายละเอียดในเรื่องเทคนิคการเล่น)
           
               นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับทิศทางในการดีดกีตาร์คือการดีดขึ้นลงนั่นเอง
สัญลักษณ์
ความหมาย
tq_stums101_pick_strum_down.gif (64 bytes)
ดีดลงจากสาย 6 ไปหาสาย 1
tq_stums101_pick_strum_up.gif (58 bytes)
ดีดขึ้นจากสาย 1 ไปหาสาย 6
            ต่อไปเรามาดูรูปแบบการตีคอร์ดแบบต่าง ๆ และลองศึกษาการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ดูนะครับ
           
แบบแรกเป็นแบบพื้นฐานก่อนนะครับ
strum-1.gif (1518 bytes) ดีดลง 4 จังหวะ ต่อ 1 ห้อง
แบบที่สองคล้ายกับแบบแรกแต่ดีดสลับขึ้นลง
strum-2.gif (1509 bytes) ดีดลง 1 จังหวะ สลับกับดีดขึ้น 1 จังหวะ
            ทั้ง 2 แบบข้างต้นนั้นเป็นการแสดงในแบบของระบบบรรทัด 5 เส้น ต่อไปเราจะมาดูตัวอย่างการตีคอร์ดในรูปแบบอื่น ๆ โดยแสดงในระบบ tablature ดูบ้าง
ตัวอย่างที่ 1
strum-e1.gif (2603 bytes) ขั้นตอนการเล่น 1. ดีดลงนับ 1 จังหวะ ตวัดมือขึ้นโดยไม่ต้องดีด
2.ดีดลงนับ 1/2 จังหวะตวัดมือดีดขึ้นนับ 1 จังหวะ ตวัดมือลงโดยไม่ต้องดีด
3. ดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ
4. ดีดลงนับ 1 จังหวะ รวมทั้งสิ้น 4 จังหวะ
ตัวอย่างที่ 2
strum-e2.gif (2674 bytes) ขั้นตอนการเล่น 1. ดีดลงนับ 1 จังหวะ
2. ดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ
3. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ
4. รวมทั้งสิ้น 2 จังหวะ
ตัวอย่างที่ 3
strum-e3.gif (2826 bytes) ขั้นตอนการเล่น 1. ดีดลงนับ 1 จังหวะ ตวัดมือขึ้นโดยไม่ดีด
2. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ
3. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ
4. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ
5. รวมทั้งสิ้น 4 จังหวะ
ตัวอย่างที่ 4
strum-e4.gif (2928 bytes) ขั้นตอนการเล่น 1. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ และดีดลงนับ 1/2 จังหวะ
2. ดีดลงโดยทำเสียงบอด อุดเสียงด้วยสันมือขวานับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ
3. ดีดลงนับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ
4. ดีดลงโดยทำเสียงบอด อุดเสียงด้วยสันมือขวานับ 1/2 จังหวะ และดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ
5. รวมทั้งสิ้น 4 จังหวะ
ตัวอย่างที่ 5
strum-e5.gif (2957 bytes) ขั้นตอนการเล่น 1. ดีดลงนับ 1 จังหวะ ตวัดมือขึ้นโดยไม่ต้องดีด
2.ดีดลงโดยทำเสียงบอด อุดเสียงด้วยสันมือขวานับ 1/2 จังหวะ
3. ดีดขึ้นนับ 1 จังหวะ ตวัดมือลงโดยไม่ต้องดีด
4. ดีดขึ้นนับ 1/2 จังหวะ
5. ดีดลงโดยทำเสียงบอด อุดเสียงด้วยสันมือขวานับ 1/2
6. ดีดขึ้นนับ 1/2  จังหวะ รวมทั้งสิ้น 4 จังหวะ
            เวลานับให้นับ 1- และ - 2 -และ .....นะครับ ลองฝึกดูหัดจากช้า ๆ ก่อนสักพักคุณจะคล่องเองแหละครับแรก ๆ อาจจะรู้สึกเก้ง ๆ ก้าง ๆ บ้าง อย่าเพิ่งท้อก็แล้วกัน
            นอกจากตัวอย่างข้างต้นแล้วคุณสามารถจะสร้าง pattern การตีคอร์ดได้เองโดยให้เข้ากับจังหวะของเพลงนั้น ๆ และคุณสามารถหารูปแบบการตีคอร์ดอื่น ๆ ได้จากการฟังเพลงและแกะเพลงให้มาก ๆ หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะพอเข้าใจและรู้จักกับการตีคอร์ดมากขึ้นนะครับ ดังนั้นต่อไปเราจะเริ่ม ฝึกการเกา...กีตาร์ที่หลาย ๆ คนชอบมากกัน
*****หมายเหตุ : เครื่องหมาย % เป็นเครื่องหมายแสดงว่าเล่นเหมือนกับห้องก่อนหน้านี้ ก็คือเล่นแบบเดียวกันกับห้องที่แล้ว
         แบบฝึกหัดทั้งหมดนี้อยากให้เพื่อนที่เพิ่งเริ่มหัดได้ลองฝึกทุกแบบฝึกหัดนะ ครับ ในแต่ละแบบฝึกหัดเมื่อดีดครบ 4 คอร์ดก็กลับไปเริ่มใหม่วนอยู่แค่นี้ก่อน อย่าเพิ่งเบื่อหรือรำคาญนะครับ คุณต้องถามตัวเองดูว่าดีดตามแบบฝึกหัดนั้นคล่องหรือยังทั้งการเปลี่ยนคอร์ด จับคอร์ด จังหวะการดีดแต่ละสาย ความเคลียร์ของเสียงที่ได้ยังบอดอยู่หรือไม่ ถ้าคุณรู้สึกว่าเป็นที่พอใจแล้วจึงค่อยเริ่มหัดในสิ่งที่ยากขึ้นต่อไปนะครับ คุณสามารถศึกษาขั้นตอนการฝึกหัดกีตาร์ในแบบของผมเองได้ที่นี่ครับ   
exno48.gif (3245 bytes) 
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://easyguitar.kwanruean.com/basicchord.htm

ไม่มีความคิดเห็น: